อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
1. ประเพณีแห่หลวงพ่อพุทธโสธร จะจัดในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี สำหรับในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 มีการอัญเชิญหลวงพ่อพุทธโสธรแห่ทางบกและในวันขึ้น 14 - 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีการแห่ทางน้ำล่องไปตามลำน้ำบางปะกง เพื่อให้ประชาชนได้นมัสการองค์หลวงพ่อพุทธโสธร สำหรับในงานจะมีการละเล่นมหรสพ อาทิ การแข่งเรือฝีพาย การแข่งเรือเร็ว เป็นต้น
2. งานสักการะพระยาศรีสุนทรโวหาร พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นคนตำบลโสธร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นปราชญ์ทางภาษาไทย ผู้แต่งแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก เคยเป็นครูสอนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของเมืองแปดริ้วที่ได้ถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว และควรจะได้มีการสักการะเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ได้สร้างไว้ ซึ่งจะจัดในวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี ในวันงานจะมีการทำบุญและพิธีสักการะที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร การจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านภาษาไทย
3. ประเพณีแข่งเรือยาว จัดงานในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี (ในช่วงงานประเพณีแห่หลวงพ่อพุทธโสธร) ซึ่งจัด ณ บริเวณหน้าวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำหรับเรือที่นิยมนำมาประลองกำลังกัน ได้แก่ เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์หรือการแข่งสกีน้ำ และเรือที่มีความเร็วสูง เช่น เรือฟอร์มูล่าวัน เป็นต้น
อำเภอบางปะกง
1. ประเพณีแห่ธงตะขาบ เป็นวัฒนธรรมของชาวรามัญที่เข้าตั้งรกรากอยู่บริเวณวัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง ประเพณีดังกล่าวจัดขึ้นในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ เป็นการสืบสานงานหัตถกรรมอันแสดงถึงความละเอียดอ่อนและเป็นเอกลักษณ์ของชาวรามัญ คือ การทำธงกระดาษ ผู้ที่จะทำธงกระดาษได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และสืบทอดการทำธงตะขาบมาจากบรรพบุรุษ มิเช่นนั้นก็จะไม่สามารถทำธงตะขาบได้อย่างถูกต้องตามประเพณี ในวันพิธีแห่ธงตะขาบ แต่ละบ้านจะจัดเตรียมธงเพื่อนำไปถวายวัด โดยจะถวายครั้งละ 2 - 3 ตัว ลักษณะของธงตะขาบ คือ ตะขาบ 1 ตัว จะมีราวนม 9 ราวนาม นมละ 14 ช่วง นมนี้มีลักษณะเป็นนมคู่ หากเป็นตะขาบตัวเทมียจะมีปากเพียงปากเดียว ส่วนตัวผู้ต้องมี 2 ปาก เมื่อทำเสร็จผ้ทำจะนำแป้ง หวี กระจก ผม 1 ปอย และผ้าเช็ดหน้าแขวนไว้ที่ปากตะขาบ การแห่นิยมแห่ทางบกมากกว่าทางเรือ เมื่อถึงวัดชาวบ้านจะนำธงตะขาบไปผูกไว้กับต้นเสาในศาลาวัดเพื่อทำพิธี เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์จะนำสายสิญจน์มาวงรอบธง จากนั้นพิธีถวายธงจะเริ่มขึ้นด้วยการกล่าวบทนมัสการคุณพระศรีรัตนตรัย ตามด้วยการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสฆ์ เสร็จแล้วชาวบ้านจะนำธงตะขาบขึ้นไปไว้บนหงส์ เชื่อกันวาทุกครั้งที่ธงตะขาบจะนำธงตะขาบไปไว้บนเสาหงส์ เชื่อกันว่าทุกครั้งที่ธงตะขาบส่ายเพราะแรงบม จะทำให้บรรุณาท่ล่วงลับไปแล้วได้ขึ้สวรรค์ (จัดงาน 12 - 14 เมษายน ของทุกปี)
2. ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีถวายน้ำผึ้งแก่พระสงฆ์และสามเณรของชาวรามัญที่วัดพิมพาวาส (ใต้) อำเภอบางปะกง จะจัดงานกลางเดือน 9 ของทุกปี มูลเหตุของการถวายน้ำผึ้งสืบเนื่องจากสมัยพุทธกาลซึ่งพระพุทธเจ้าอนุยาตให้พระภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นยาได้ ชาวรามัญที่อาศัยอยู่ในตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จะทำการตักบาตรน้ำผึ้งที่ศาลาวัด ในขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ โดยชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตรและใส่น้ำตาลในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหารคาวหวานนำไปใส่ภาชนะที่วางไว้อีกด้านหนึ่งของศาลา อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตรนอเหนือไปจากน้ำผึ้งและน้ำตาลแล้ว มักจะมีข้าวต้มมัดสำหรับพระจิ้มน้ำผึ้งฉันด้วย
อำเภอบ้านโพธิ์
1. ประเพณีทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตโคกระบือ มีการสวดมนต์ตอนเย็น ทำบุญตอนเช้า ปลูกต้นไม้และพิธีไถ่ชีวิตโคกระบือ ณ ตำบลเทพราช (จัดงาน วันพืชมงคลของทุกปี)
อำเภอพนมสารคาม
1. ประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายลาวที่เข้ามาปักหลักอยู่ในอำเภอพนมสารคาม งานบุญข้าวหลามเป็นการทำบุญด้วยข้าวหลามและขนมจีน หรือข้าวปุ้นกับน้ำยาป่า หมายถึงน้ำยาที่ไม่ใส่กะทิ แต่ใส่ปลาร้า โดยจะทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ที่กำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันงานบุญเนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเสร็จจากการเกี่ยวข้าว จึงถือโอกาสนำข้าวที่ได้มาทำเป็นข้าวหลามและขนมจีน เพื่อทำบุญเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว (จัดงาน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา)
2. ประเพณีพิธีกรรมล้อมบ้าน (ฮีบ้าน) วัฒนธรรม/ประเพณี/ความเชื่อของชาวไทยพวน อำเภอพนมสารคามในหมู่บ้าน เกิดมีคนป่วยและล้มตายติดต่อกันหลายคน ชาวบ้านเกิดความกลัว ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจึงพาชาวบ้านไปไหว้ศาล ขอให้คุ้มครอง เจ้าพ่อได้มาเข้าทรงบอกว่า ดวงบ้านดวงเมืองกำลังมีเคราะห์ เนื่องจากตั้งหมู่บ้านไม่มีหลักบ้านหลักเมือง ชาวบ้านจึงตั้งหลักบ้านหลักเมืองไว้บริเวณใกล้ ๆ ศาล เรียกกันว่า "หลักศีล" และให้ทำบุญเสียเคราะห์หมูบ้าน โดยให้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนทำกระทรงหน้าวัวปั้นคน โค กระบือ ม้า สุนัข ไก่ ข้าวดำ ข้าวแดง ใส่มาในกระทงหน้าวัว ช่วยกันหาหญ้าคามาถักต่อกันให้ยาวเพื่อล้อมรอบหมู่บ้าน ให้นำหญ้าคาและกระทงหน้าวัวนี้มารวมกัน ณ บริเวณศาล ทำบายศรีปากชาม สู่ขวัญหลักบ้านหลักเมือง ทำบายศรีพุ่มสู่ขวัญชาวบ้าน เมื่อทุกคนพร้อมกันแล้ว คนทรงอัญเชิญเจ้าพ่อประทับทรงเจ้าพ่อจะทำพิธีทำน้ำมนต์รดกระทงรดหญ้าคา และให้นำหญ้าคาทีทำพิธีแล้วไปล้อมรอบหมู่บ้าน นำกระทงไปส่งตามแยกต่าง ๆ ของหมู่บ้านเป็นการส่งผี ส่งเคราะห์ร้ายออกไปจากหมู่บ้าน และไม่ให้ผีหรือเคราะห์ร้ายใด ๆ เข้ามาในหมู่บ้านได้อีก
อำเภอแปลงยาว
1. ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เป็นประเพรีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเรียกตัวเองว่า "ชาวลาวเวียง" การเผาข้าวหลามจะทำในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีการละเล่นของชาวบ้าน พอวันรุ่งขึ้น คือ วันขึ้น 15 ค่ำ ชาวบ้านจะพากันขึ้นเขาไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองบนเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี) พร้อมกับนำข้าวหลามไปถวายแก่พระสงฆ์และเป็นเสบียงระหว่างเดินทางขึ้นเขา (จัดงาน ขึ้น 14 - 15 ค่ำ เดือน 3)
2. ประเพณีช่วงรำ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านย่านตำบลหัวสำโรง ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไมยเชื้อสายเขมรโดยบรรพบุรุษได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ประเภทของการละเล่นของช่วงรำ เช่น การเล่นชักเย่อ สะบ้า รวมถึงการสวดคฤหัสถ์ การละเล่นนี้จะเริ่มขึ้นหลังจากทำบุญบนศาลาวัดเสร็จแล้ว ซึ่งชาวบ้านจะพากันไปที่บานวัดยึดโคนต้นไม้ใหญ่เป็นที่หลบร้อนและเล่นช่วงรำ เพื่อรอเวลาสรงน้ำพระในตอนเย็น วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นจะขี่คอกันเป็นคู่ ๆ ยืนล้อมวงประมาณ 5 - 6 คู่ ผู้เล่นมีตั้งแต่หนุ่มสาวไปจนถึงคนอายุ 60 - 70 ปี เมื่อจับคู่ขี่กันได้แล้วผู้เล่นจะโยนลูกช่วงให้กัน เมื่อมีผู้รับพลาดทุกคู่จะลงจากคอแล้วมาร้องเพลงระบำแก้กัน คู่ที่รับลูกช่วงไม่ได้ต้องออกมาร้องเพลงระบำก่อน คู่ที่เหลือจะคอยปรบมือให้จังหวะและเป็นลูกคู่เมื่อร้องแก้กันจนจบ ก็ถือเป็นการจบ 1 เพลง จากนั้นเริ่มจับคู่ขี่ (จัดงาน วันที่ 12 - 14 เมษายน ของทุกปี)
อำเภอท่าตะเกียบ
1. บวงสรวงเจ้าพ่อเขากา มีการจัดงาน 2 วัน ในวันแรกจะมีการแข่งขันเผาข้าวหลามบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อเขากา ซึ่งชาวบ้านจะเข้าร่วมแข่งกันเป็นจำนวนมาก กลางคืนจะมีมหรสพสมโภชตลอดคืน วันที่สอง ทำพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อเขากา ซึ่งตรงกับวันจขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 โดยเริ่มพิธีบวงสรวงแต่เช้ามืด เครื่อบวงสรวงประกอบด้วย หัวหมู ไก่ พิธีบวงสรวงอื่น ๆ โดทั้วไป แต่สิ่งที่เพิ่มเติมในพิธี คือ ข้าวหลาม ยาเส้น เหล้าป่า เพราะเชื่อว่าเจ้าพ่อชื่นชอบมาก ต่อจากพิธีบวงสรวงจะเป็นพิธีสงฆ์ และในวันดังกล่าวจะมีผู้ที่เคารพศรัทธาเจ้าพ่อเขากาจากทั่วทุกสารทิสนำข้าวหลามมาถวายเป็นจำนวนมาก และในวันนี้ถ้าใครมาจะได้กินข้าวหลามอย่างอิ่มหนำสำราญใจ (จัดงาน เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ)
2. ประเพณีบุญบั้งไฟ การจัดงานจะมี 2 วัน วันแรกจะทำพิธีบวงสรวงศาลปู่ตา มีการแข่งขันขบวนแห่บั้งไฟ ที่จะต้องมีผู้ฟ้อนรำอย่างน้อย 10 คนขึ้นไป มีพระบรมฉายาลักษณ์ทั้ง 2 พระองค์ มีธงชาติอย่างน้อยขบวนละ 4 ผืน ประกวดการเอ้บั้งไฟ (ตกแต่ง) ทุกขบวนจะมีการตกแต่งบั้งไฟสวยงามอลังการมาก วันที่สองจะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง เริ่มจุดตั้งแต่เวลา 09.00 - 19.00 น. โดยจะมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วทุกสารทิศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทีเดียว