เผ่ากะเหรี่ยง หรือเผ่ากะหร่าง หรือเผ่าปากะญอ
หมู่ ๓ บ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมชนป่าละอูเป็นชุมชนที่ค่อนข้างกว้าง โดยมีจุดศูนย์กลางที่บริเวณหมู่ที่ ๓ บ้านป่าละอู โดยมีบริเวณรอบนอกที่มีการเคลื่อนที่ไปมาในบริเวณลุ่มน้ำสะตือบนและล่าง กะเหรี่ยงเรียกว่า “กะตือหล่อ” หรือ “กะตือคี้” หรือ “กะตือนี” แปลว่า ลุ่มน้ำกะตือ หรือต้นน้ำกะตือ หรือปลายน้ำกะตือ พื้นที่นี้กะเหรี่ยงจะไปทำไร่ ไปอยู่อาศัยชั่วคราว จากนั้นก็จะกลับมาอยู่รวมกันที่บ้านป่าละอู ที่ยังเหลือหลักฐานคือ บริเวณห้วยขนุน ยังเหลือต้นขนุนที่มีอายุหลายสิบปี ตรงจุดนี้กะเหรี่ยงเรียกว่า “ค้อซู้หล่อ” แปลว่า ลุ่มน้ำต้นยาง
บริเวณ “เลอมือพู้หล่อ” แปลว่า ห้วยผาน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เป็นแนวเส้นทางคนเดินทางข้ามไปฝั่งพม่า เพื่อข้ามไปสู่บ้าน “สะเก็ด” ในฝั่งพม่า ในปัจจุบันก็ยังใช้เดินทางในบางโอกาส มีหลักฐานเหลือที่บริเวณที่เรียกว่า “พื้อมู้แซ” แปลว่า สวนหมาก “ปู่มู้” หมายถึง บริเวณนี้เป็นสวนหมากเก่าของปู่มู้ ยังมีต้นขนุนต้นใหญ่ขนาดสามคนโอบสูงเสียดฟ้า
บริเวณหัวน้ำตกป่าละอู เรียกว่า “พื้อน้ากู่ซี่” แปลว่า ไร่ซากปู่น้ากู่ มีแต่เรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ปู่น้ากู้ได้มาทำไร่ที่นี่แล้วจากไป ใครจะมาตัดใบตะคร้อที่นี่ไม่รู้จะเรียกชื่อพื้นที่อย่างไร ก็จะบอกกันว่าไปที่ไร่ซากปู่น้ากู้จนถึงทุกวันนี้
บริเวณบ้านป่าละอูน้อย จุดนี้เป็นที่อยู่เก่าแก่ของชุมชนป่าละอูอีกแห่งหนึ่งที่มีคนกะเหรี่ยงได้ตั้งรกรากอยู่อาศัยเก่าแก่มานาน หลักฐานที่ยังพอเหลืออยู่คือ ต้นมะม่วงอายุร้อยปี ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
การประกอบอาชีพ ทำไร่ ปลูกข้าว โดยในไร่ข้าวก็จะมี งา แง ยาสูบ เผือก มัน อ้อย กล้วย ถั่ว ฟัก แฟง บวบ ฟักทอง ผักต่าง ๆ อีกหลายชนิด
ที่อยู่อาศัย สร้างบ้านลักษณะเป็นกระท่อมไม้ไผ่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการทอผ้าด้วยกี่เอวมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ การร้อยลูกปัดคอ
ภาษา ใช้ภาษากะหร่างเป็นหลัก (มักเข้าใจผิดว่าเป็นภาษากะเหรี่ยง) แต่ก็จะมีหลายคนที่สามารถใช้ภาษากะเหรี่ยงที่มาจากจังหวัดเพชรบุรีได้
ดร.อนันต์ นาวิไล วัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงป่าละอู
เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
(Visited 2,261 times, 1 visits today)
หากต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงป่าละอู สามารถติดต่อได้ที่ อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่
ต้องการ ทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงป่าละอู
จะติดต่อได้ยังไงคะ ?