-
คำขวัญประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ในสมัยของนายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ประกาศใช้คำขวัญของจังหวัดไว้ ดังนี้
สับปะรดหวาน
น้ำตาลขาว
มะพร้าวน้ำหอม
น้ำผึ้งเดือนห้า
น้ำปลากลมกล่อม
น้ำทะเลใส
น้ำใจโอบอ้อมอารี
-
แต่เนื่องจากได้มีบุคคลหลายฝ่ายได้เสนอความเห็นต่อทางจังหวัดว่า คำขวัญดังกล่าวยังมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของจังหวัด จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงคำขวัญของจังหวัดขึ้นใหม่ โดยคณะกรรมการปรับปรุงคำขวัญของจังหวัดให้ประมวลภาพลักษณ์ซึ่งเป็นลักษณะ เด่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปได้ว่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็น เมืองสวยงาม ประกอบกับได้นำวัตถุประสงค์หลักของการกำหนดคำขวัญของจังหวัดที่ว่า เพื่อใช้สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการส่งเสริมการลงทุนโดยให้นำเนื้อหาทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ทรัพยากร และวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นเนื้อหาในการจัดทำคำขวัญ ซึ่งคณะกรรมการได้ประมวลเนื้อหาจากคำขวัญที่มีผู้ส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น ๔๕๙ สำนวน มาสรุปเป็นคำขวัญของจังหวัดขึ้นใหม่ โดยนายประสงค์ พิทูรกิจจา ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ประกาศใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนี้
เมือง ทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด
สวย สด หาด เขา ถ้ำ
งาม ล้ำน้ำใจ
-
คำขวัญดังกล่าว เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและใช้เป็นคำขวัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาจนถึงปัจจุบัน
(Visited 7,487 times, 4 visits today)
ทองเนื้อเก้าหมายถึงอะไรคะ
คุณสมบัติของทองบางสะพาน “ทองบางสะพาน” หรือ “ทองบางตะพาน” มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีจนมีผู้กล่าวกันว่า “เป็นทองคำเนื้อดีที่สุดของเมืองไทยและในโลก” ทองที่พบเป็นทองธรรมชาติ เห็นเป็น Nuggest (ทองที่ขุดได้โดยไม่ต้องถลุง) อย่างชัดเจน เหลืองอร่าม สุกปลั่งและเนื้ออ่อน ทองร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นทองเนื้อเก้า เรียกว่า “นพคุณเนื้อเก้า” เชื่อกันว่าป้องกันภยันตรายและภูตผีปีศาจได้ดี ทองบางสะพาน หรือทองบางตะพาน หรือทองนพคุณนี้ในหนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ อธิบายไว้ว่า ทองคำที่ซื้อขายกันนั้น เรียกตามเนื้อและตามราคา เช่น ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๔ บาท เรียกว่า เนื้อสี่ ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๕ บาท เรียกว่า เนื้อห้า ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๖ บาท เรียกว่า เนื้อหก ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๗ บาทเรียกว่า เนื้อเจ็ด ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๘ บาทเรียกว่า เนื้อแปด ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ทองหนักบาทหนึ่งเป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า นพคุณเก้าน้ำ ดูเพิ่มเติมที่ http://www.bsp.police7.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=86&Itemid=58
เปลี่ยนใหม่ เถอะครับ อันนี้ ไพเราะกว่า โดนกว่า ผมถอดหัวใจ เเต่งเลย ดังนี้ครับ..
มะพร้าว สับปะรด อาหารสด ทะเลใส
เเคบสุด ประเทศไทย ราชวังไกล กังวลเอย..
บ้านผมอยู่ ห้วยยาง ขอฝาก คำขวํญ ของ บ้านห้วยยาง ด้วยครับ ผมเเต่งเอง ดังนี้..
วนกร หาดสวย น้ำใจรวย ตลอดศก
มะพร้าว ลูกดก น้ำตก ห้วยยาง
คำขวัญข้างต้นน่าจะมีการตกหล่นนะคะ
จาก “สับปะรดหวาน น้ำตาลขาว มะพร้าวน้ำหอม
น้ำผึ้งเดือนห้า น้ำปลากลมกล่อม น้ำใจโอบอ้อมอารี”
ตกประโยคที่ว่า “น้ำทะเลใส”
ที่ถูกจึงเป็น
“สับปะรดหวาน น้ำตาลขาว มะพร้าวน้ำหอม
น้ำผึ้งเดือนห้า น้ำปลากลมกล่อม
น้ำทะเลใส น้ำใจโอบอ้อมอารี”
รบกวนปรับแก้และหาข้อมูลที่ถูกต้องแน่ชัดอีกครั้งค่ะ