|
ระเบียบการขอพระราชทานเพลิงศพ |
|
|
|
|
|
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ขอรับพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก เลขาธิการพระราชวังได้มีบัญชาว่าเพลิงที่พระราชทานไปเผาศพ ณ วัดที่อยู่ห่างจากพระบรมมหาราชวังนอกรัศมี 50 กิโลเมตร ให้จัดเป็นหีบเพลิงพระราชทานมอบเจ้าภาพเชิญไปดำเนินการเอง โดยไม่มีเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังไปปฏิบัติ ดังนั้น กองพระราชพิธี จึงได้กำหนดระเบียบการขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ดังนี้
1. ให้เจ้าภาพศพไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนัก พระราชวัง
2. ในกรณีที่เจ้าภาพไม่สามารถไปรับหีบเพลิงพระราชทายด้วยตนเอง จะมอบให้ ผู้อื่นไปรับแทนก็ได้ โดยนำต้นเรื่อง หนังสือมอบฉันทะ และสำเนาบัตรประจำตัวผู้แทนไปแสดงต่อ เจ้าหน้าที่
3. เจ้าภาพหรือผู้แทนควรไปรับหีบเพลิง ก่อนกำหนดวันพระราชทานเพลิงอย่างน้อย 3 วัน
4. ผู้มารับหีบเพลิงควรแต่งกายสุภาพ
5. ให้รับหีบเพลิงพระราชทานที่โต๊ะหมู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ |
|
|
|
|
|
ข้อแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชทานหีบเพลิง
ไปพระราชทานยังต่างจังหวัด
(ระยะห่างจากสำนักพระราชวังเกิน 50 กิโลเมตร)
ตามระเบียบที่สำนักพระราชวังได้วางไว้ เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าภาพ แล้วแต่กรณี ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักพระราชวังจะได้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าภาพศพเพื่อทราบ จากนั้นเจ้าภาพศพ หรือเจ้าหน้าที่ของจังหวัดแล้วแต่กรณี ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปขอรับหีบเพลิงพระราชทานได้ที่ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อได้รับหีบเพลิงพระราชทานไปแล้ว ต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปวางที่ศาลากลางจังหวัด อำเภอ หรือหน่วยราชการที่สังกัดในท้องที่ หรือที่บ้านเจ้าภาพแล้วแต่กรณี โดยตั้งไว้ที่อันสมควร และควรมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้นด้วย
2. เมื่อถึงกำหนดวันที่ขอพระราชทานเพลิงศพ ทางจังหวัด อำเภอ หรือเจ้าภาพแล้วแต่กรณี จะต้องจัดเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์ เพื่อเชิญหีบเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยพานรอง(หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุที่จะประกอบพิธี และก่อนที่จะเชิญขึ้นไปตั้งบนเมรุนั้น ควรยกศพขึ้นตั้งเมรุให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วจึงเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานขึ้นไปตั้งไว้บนโต๊ะทางด้านศีรษะศพ(บนโต๊ะที่ตั้งหีบเพลิงพระราชทานนั้นจะต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อยและห้ามมิให้นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วยเป็นอันขาด) เมื่อเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานวางเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เชิญคำนับเคารพศพหนึ่งครั้ง แล้วจึงลงจากเมรุ
3. ขณะที่เชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น เจ้าหน้าที่ผู้เชิญจะต้องระมัดระวังกิริยามารยาทโดยอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยกับผู้ใด และไม่ต้องทำความเคารพผู้ใด และไม่เชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินตามหลังผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด
4. ระหว่างที่เจ้าหน้าที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุนั้น ประชาชนที่มาร่วมงานควรนั่งอยู่ในความสงบโดยมิต้องยืนขึ้น ไม่ต้องทำความเคารพและไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของพิธีการ เจ้าหน้าที่ผู้อัญเชิญก็มิใช่ผู้แทนพระองค์เป้ฯการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
5. ผู้ที่ตั้งแถวรอรับการเชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุ ควรเป็นเจ้าภาพงาน การแต่งกายควรแต่งเครื่องแบบไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นข้าราชการแต่งกายเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์
ผู้ที่ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพทั้งประชาชน และข้าราชการรวมทั้งพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ส่วนบุตรหลาน หรือญาติ รวมทั้งผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ที่รับราชการจะแต่งกายเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ก็จะเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์และยังนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติ
6. เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิงศพ ให้เจ้าภาพเชิญแขกมีอาวุโสสูงสุดในที่นั้นขึ้นเป็นปรานประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ(ผู้มีอาวุโสสูงสุดนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งด้านคุณวุฒิ และด้านวัยวุฒิ ทั้งนี้ หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปหรือราชสกุลที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งผู้วายชนม์หรือทายาทอยู่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือเป็นผู้ที่เคารพนับถือ สมควรเชิญบุคคลนั้นเป็นประธาน)
7. ในระยะเวลาก่อนเจ้าภาพเชิญผู้มีอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นปรานประกอบพิธีพระราชทานเพลิงนั้น ให้เจ้าหน้าที่ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทานขึ้นไปรออยู่ ณ โต๊ะวางหีบเพลิงพระราชทานบนเมรุก่อน เมื่อผู้เป็นประธานทอดผ้าไตรบังสุกุล พระภิกษุได้ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทานแก้ห่อหีบเพลิงพระราชทานออก จากนั้น ผู้เป็นประธานปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
- เปิดฝาหีบเพลิงพระราชทาน
- หยิบเทียนชนวนในหีบเพลิงพระราชทาน มอบให้เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้
- หยิบกลักไม้ขีดในหีบเพลิงพระราชทาน จุดไฟต่อเทียนชนวนที่เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้ รอจนเทียนลุกไหม้ดีแล้ว
- ถวายบังคม(ไหว้) หนึ่งครั้ง ก่อนหยิบธูป ดอกไม้จันทน์ และเทียนพระราชทาน (จำนวน 1 ชุด) ในหีบเพลิงพระราชทาน จุดไฟหลวงจากเทียนชนวนแล้ววางไว้ไต้กลางฐานที่ตั้งศพ จากนั้นก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว คำนับเคารพศพหนึ่งครั้ง แล้วลงจากเมรุเป็นอันเสร็จพิธี
หมายเหตุ 1. สำหรับศพที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานผ้าไตรทอดถวายพระบังสุกุล
ด้วยนั้นผู้เป็นประธานต้องถวายบังคม(ไหว้) หนึ่งครั้ง ก่อนหยิบผ้าจากเจ้าหน้าที่ผู้เชิญ แล้วทอดผ้าตามพิธีต่อไป
2. ในกรณีที่เจ้าภาพประสงค์ให้มีการอ่าน หมายรับสั่ง เพื่อแสดงถึงการได้รับ
พระราชทานเพลิงศพ(ในกรณีที่ได้รับหมายรับสั่ง ถ้ายังไม่ได้รับหมายรับสั่งก็ไม่ต้องอ่าน)
ประวัติผู้วายชนม์ เพื่อประกาศเกียรติคุณ และคำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพนั้น ให้อ่านเรียงลำดับตามที่กล่าวมา ทั้งนี้ หากจะอ่านเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือไม่อ่านเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความประสงค์และความสะดวกของเจ้าภาพเป็นสำคัญส่วนการลงท้ายคำอ่านสามารถอ่านชื่อบุคคลผู้เป็นทายาททั้งหมดหรือจะออกชื่อแต่เจ้าภาพก็ย่อมกระทำได้ |
|
|
|
|
|
การขอรับหีบเพลิงพระราชทาน
เนื่องจากปัจจุบันนั้น มีผู้ขอรับพระราชทานเพลิงศพเป็นจำนวนมาก เลขาธิการพระราชวังได้มีบัญชาว่า เพลิงที่พระราชทานไปเผาศพ ณ วัดที่อยู่ต่างจังหวัดหรือปริมณฑล ซึ่งห่างจากพระบรมมหาราชวังนอกรัศมี 50 กิโลเมตร ให้จัดเป็นหีบเพลิงพระราชทานมอบเจ้าภาพเชิญไปดำเนินการเอง โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังไปปฏิบัติ ดังนั้น กองพระราชพิธี จึงได้กำหนดระเบียบการขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ดังนี้
1. ให้เจ้าภาพหรือผู้แทนเจ้าภาพ ไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
2. กรณีที่เจ้าภาพไม่สามารถไปรับหีบเพลิงพระราชทานด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นไปรับแทนก็ได้ โดยนำต้นเรื่อง หนังสือมอบฉันทะ และสำเนาบัตรประจำตัวผู้แทนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
3. เจ้าภาพหรือผู้แทน ควรไปรับหีบเพลิงก่อนกำหนดวันพระราชทานเพลิงอย่างน้อย 3 วัน
4. ผู้ที่มารับหีบเพลิงควรแต่งกายสุภาพ
5. ให้รับหีบเพลิงพระราชทานที่โต๊ะหมู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์
หมายเหตุ 1. เลขาธิการพระราชวัง มีคำสั่ง ห้ามเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเชิญหีบเพลิง
พระราชทานไปปฏิบัติโดยเด็ดขาด ดังนั้น เจ้าภาพจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดการ
หีบเพลิงพระราชทานเอง
2. ห้ามเปิดหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในการพระราชทานเพลิงศพ
เมื่อเจ้าภาพเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปถึงมณฑลพิธี |
|
|
|
|
|
การปฏิบัติเกี่ยวกับหีบเพลิงพระราชทาน
สำหรับกรณีที่มีการขอพระราชทานเพลิงศพ แต่ศพอยู่ต่างจังหวัด (ห่างจากสำนักพระราชวังเกิน 50 กิโลเมตร)นั้น เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าภาพแล้วแต่กรณี ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักพระราชวังแล้ว หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ ทางสำนักพระราชวังจะมีหมายรับสั่งแจ้งให้เจ้าภาพทราบ เพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้แทนไปขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อได้รับแล้วต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. เชิญหีบเพลิงพระราชทาน ไปวางที่ศาลากลางจังหวัด อำเภอ หรือหน่วยราชการที่สังกัดในท้องที่ หรือที่บ้านแล้วแต่กรณี ควรมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้นด้วย
2. เมื่อกำหนดวันพระราชทานเพลิงศพให้ทางเจ้าภาพจัดหาเจ้าหน้าที่ หรือญาติที่เป็นข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ เพื่อเชิญหีบเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยพานรอง(หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุที่จะประกอบพิธี และก่อนที่จะเชิญขึ้นตั้งบนเมรุนั้น ควรให้ศพขึ้นตั้ง บนเมรุให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปตั้งไว้ด้านศีรษะศพ(บนโต๊ะที่ตั้งหีบเพลิงจะต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อย และห้ามมิให้นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วยเป็นอันขาด) เมื่อเชิญเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เชิญคำนับเคารพศพหนึ่งครั้ง แล้วจึงลงจากเมรุ
3. ขณะที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น ต้องระวังกิริยามารยาทโดยสำรวม ไม่ต้องทำความเคารพผู้ใด และไม่ต้องเชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินตามหลังผู้หนึ่งผู้ใดโดยเด็ดขาด
4. ผู้ที่ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ทั้งประชาชน ข้าราชการ และพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ควรแต่งกายเครื่องแบบไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีลูกหลานหรือญาติ รวมทั้งผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ที่รับราชการจะแต่งกายชุดปกติขาวไว้ทุกข์ก็จะเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ และยังนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติ
5. ผู้ที่ตั้งแถวรอรับหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุ ควรเป็นเจ้าภาพงาน การแต่ง
กายควรแต่งเครื่องแบบไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นข้าราชการแต่งกายปกติขาวไว้ทุกข์
6. ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ เชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุนั้น ประชาชนที่มาร่วมงานควรนั่งอยู่ในความสงบโดยมิต้องยืนขึ้น ไม่ต้องทำความเคารพและไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของพิธีการ เจ้าหน้าที่ผู้เชิญก็มิใช่ผู้แทนพระองค์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
7. เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกที่มาในงานที่มีอาวุโสสูงสุด ขึ้นเป็นประธานจุดเพลิง
ประธานในพิธีจุดเพลิงที่อาวุโสสูงสุดนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งในด้านคุณวุฒิ และวัยวุฒิ ทั้งนี้ หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป หรทอราชสกุลที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งศพหรือทายาทอยู่ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้ที่เคารพนับถือแล้ว สมควรเชิญบุคคลนั้นเป็นประธาน
8. ในกรณีที่มีการอ่านหมายรับสั่งประวัติผู้วายชนม์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ควรอ่านตามลำดับ ดังนี้
- หมายรับสั่ง แสดงถึงการได้รับพระราชทานเพลิงศพ
- ประวัติผู้วายชนม์ เพื่อประกาศเกียรติคุณ
- สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
หมายเหตุ การอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนั้น เป็นขั้นตอนที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามความเหมาะสม ส่วนการลงท้ายสามารถอ่านชื่อบุคคลผู้เป็นทายาททั้งหมด หรือจะออกชื่อแต่เจ้าภาพก็ย่อมกระทำได้ |
|
|
|
|
|
ขั้นตอนการพระราชทานเพลิง(หีบเพลิง)
1. ผู้เป็นประธานเปิดหีบเพลิง
2. หยิบเทียนชนวนมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้
3. หยิบกล่องไม้ขีดไฟ จุดเทียนชนวน รอจนเทียนลุกไหม้ดีแล้ว
4. ผู้เป็นประธานถวายบังคม(ไหว้) ไปที่หน้าหีบเพลิงที่วางอยู่ หยิบธูป ดอกไม้จันทน์ เทียน จุดไฟหลวงจากเทียนชวน แล้วจึงวางไว้ไต้กลางฐานตั้งหีบศพ จากนั้นก้าวถอยหลัง ๑ ก้าว คำนับศพหนึ่งครั้ง แล้วลงจากเมรุ เป็นอันเสร็จพิธี |
|
|
|
|
|
|
|